Latest Articles

ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ดูแลตนเองอย่างไรดี

ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ฟังดูแล้วคงเป็นอาการทั่วไปที่ไม่แปลกใหม่สักเท่าไร จนหลายคนคิดว่าไม่มีความอันตรายมากนัก แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สร้างความรำคาญใจได้หรือเป็นสัญญาณบางอย่างเพื่อบ่งบอกถึงโรคร้ายแรง ที่ทำให้เราต้องหันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

โดยอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ที่เกิดขึ้นในระยะยาว มักเป็นๆ หายๆ อาจเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ และมีวิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคที่อาจตามมาได้

สาเหตุของอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

อาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้อาจเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพอากาศโดยรอบ หรือร่างกายของผู้ป่วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การทำงานของหูชั้นใน ที่มีความผิดปกติ เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน เพราะหูทำหน้าที่รักษาสมดุลของศีรษะ จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเวียนหัวได้ รวมถึงอาจมีอาการอื่นๆ รวมด้วย ทั้งหูอื้อ ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หรือมีเสียในหู
  • ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อาการบาดเจ็บ ลมบ้าหมู เนื้องอก เป็นต้น โดยอาจมีอาการพูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง หรือปากเบี้ยวร่วมด้วย
  • ระบบหมุนเวียนโลหิต คือการมีความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ ส่งผลให้สมองได้รับเลือดไม่เพียงพอจนมีอาการมึนหัว ปวดหัว
  • ผลข้างเคียงของยา โดยเฉพาะยาสำหรับรักษาความดันโลหิตสูง และยารักษาโรควิตกกังวล
ผู้หญิง ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

ถ้าหากคุณมีอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุเกี่ยวกับโรคในร่างกายส่วนอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

โรคทางหู

อาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาจเป็นสัญญาณบอกโรคเกี่ยวกับหูได้ เพราะหูมีบทบาทในการสร้างสมดุลของสมอง โดยโรคที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับหู เกิดขึ้นได้ทั้งหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน เช่น เนื้องอกในหู หูอักเสบ กระดูกบริเวณหูหัก ความดันในหูผิดปกติ ผลึกหินปูนในหู เส้นประสาทในหูผิดปกติ หรือขี้หูอุดตัน

โรคทางสมองและระบบประสาท

โรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ โดยแบ่งเป็น โรคระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จากสมองน้อย (Cerebellum) ความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง และอาจเป็นการติดเชื้อของระบบประสาทก็ได้เช่นกัน

โรคอื่น ๆ

นอกจากนี้ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ยังเป็นหนึ่งในอาการของโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน อาทิ

  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • โรคเลือดจางและอื่น ๆ
  • โรคหลอดเลือดตีบจากไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
  • โรคกระดูกต้นคอเสื่อม
  • โรคไต
  • โรคภูมิแพ้
  • ภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
ผู้ชาย ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

รักษาอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

เมื่อคุณมีอาการเหล่านี้ในระยะเวลาที่มากจนเกินไปหรือเกิดขึ้นบ่อยจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน คุณควรเดินทางไปพบแพทย์อย่างรวดเร็วเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยโรคและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการ ตรวจสอบสาเหตุ และรักษาอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ด้วยการให้ยาตามอาการ การบริหารร่างกาย หรือรักษาตามโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้

ดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

สำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ เพื่อบรรเทาอาการสามารถทำได้ง่ายๆ ได้แก่

  • จอดรถข้างทางเปิดไฟฉุกเฉินถ้าหากมีอาการขณะขับรถ
  • หยุดเดินและหาที่นั่งพัก เพื่อป้องกันการล้มกระแทกจนเกิดบาดแผล
  • หยุดการเคลื่อนไหวทันที นอนราบ และจ้องไปยัจุดใดจุดหนึ่งจนอาการเริ่มดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงกาเดินทางไปยังสถานที่ที่มีเสียงดัง
  • ปรึกษาเภสัชกรและรับประทานยาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ เช่น พาราเซตามอล ซินนาริซีน และบิสมัทซับซาลิไซเลต เป็นต้น

บริหารร่างกายช่วยลดอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

นอกจากนี้การบริหารร่างกายยังเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ แบ่งเป็น 4 ท่า ดังนี้

บริหารศีรษะ

  • ก้มศีรษะและเงยหน้าอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งหมด 20 ครั้ง
  • หลับตาลง หันศีรษะด้านหนึ่งไปยังอีกด้านช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งหมด 20 ครั้ง
ท่าบริหาร ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้

บริหารตา

  • มองขึ้นและลงอย่างช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งหมด 20 ครั้ง
  • กลอกตาจากซ้ายไปขวา แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งหมด 20 ครั้ง

บริหารในท่านั่ง

  • ยกไหล่ขึ้นและลง ทั้งหมด 20 ครั้ง
  • หันไหล่ไปทางซ้ายและขวา ทั้งหมด 20 ครั้ง

การเคลื่อนไหว

  • โยนลูกบอลยางเหนือระดับสายตาจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง อย่างน้อย 10 ครั้ง

สรุป

อาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้อาจเป็นเพียงการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องมีการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอและใส่ใจอาการต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันโรคต่างๆ

ถ้าหากอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ไม่มีแนวโน้มดีขึ้นคุณควรรีบไปพบแพทย์อย่างรวดเร็ว หรือลองปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ Medcare เบื้องต้น เราพร้อมให้บริการเพียงแค่แอด LINE https://liff.line.me/1656211307-YZBwnXVm เพื่อรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้านภายใน 1 ชั่วโมง หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://en.medcare.asia/ 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง